ประวัติของกีฬาแบดมินตัน
มีต้นกำเนิดที่ไม่ ชัดเจน ไม่มีหลักฐานแน่ชัดถึงต้นตอแหล่งกำเนิดของ กีฬาประเภทนี้ มีแต่หลักฐานบางชิ้นชี้บ่งให้ทราบว่า กีฬาแบดมินตันมีเล่นกันประปรายในยุโรปตอน ปลายศตวรรษที่ 17 จากภาพสีน้ำมันหลายภาพได้ยืนยันว่า กีฬาแบดมินตันเล่นกันแพร่หลายในราชสำนัก ต่าง ๆ ของยุโรป แม้ว่าจะเรียกกันภายใต้ชื่ออื่นๆ ก็ตาม
จากหลักฐานของภาพวาดเก่า ๆ ปรากฏว่ามีการเล่นเกมในลักษณะที่คล้ายกับลูกขนไก่ในประ เทศจีนช่วงศตวรรษที่ 7 ชาวจีนนำอีแปะที่มีรู แล้วใช้ขนไก่หลายเส้นเสียบผ่านรูอีแปะสองสามอัน ให้อีแปะเป็นตัวถ่วงน้ำหนัก ใช้เชือกมัดตรงปลายเอาไว้ไม่ให้หลุด เวลาเล่นจะตั้งวง เล่นกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือจะเล่นพร้อมกัน 3-4 คน ใช้เท้าเตะกันไปมาทำนองเดียวกับที่คนไทยเล่นตะกร้อล้อมวง
ในศตวรรษที่ 13 ปรากฏหลักฐานว่า ชาวอินเดียนแดงในทวีปอรือขนนก เสียบมัดติดกับก้อนกลม ให้ปลายหางของขนไก่ชี้ไปในทางเดียวกันเป็นพู่กระจายออกด้านหลัง เวลาเล่นใช้มือจับก้อนกลมแล้วปาไปยังผู้เล่นอื่น ๆ ให้ช่วยกันจับ ตลอดช่วงเวลาที่กล่าวมานี้ ยังไม่มีการใช้แร็กเกต หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ตีปะทะลูกขนไก่ แต่ใช้มือ หรืออวัยวะอื่น ๆ แทน
จนกระทั่งในศตวรรษที่ 14 ชาวญี่ปุ่นได้มีการใช้ขนไก่
เมริกาตอนใต้ ใช้หญ้าฟางพันขมวดเข้าด้วยกันจนเป็นก้อนกลม แล้วใช้ขนไก่ หหรือขนนกเสียบผูกติดกับหัวไม้ แล้วใช้ไม้แป้นที่ทำจากไม้กระดาน สลักด้วยลวดลายหรือรูปภาพ หวดเจ้าลูกขนไก่ไปมา นับว่าเป็นวิวัฒนาการในรูปลักษณ์ของการเล่นแบดมินตันที่ใกล้เคียงกับยุคปัจจุบันมากที่สุด โดยมีการใช้แร็กเกตตีลูกขนไก่แทนการใช้อวัยวะของร่างกาย
ในศตวรรษที่ 17 พระราชินีคริสตินาแห่งสวีเดนทรงแบดมินตันเป็นประจำ โดยมีไม้แร็กเกตที่จำลองมาจากแร็กเกตเทนนิส เริ่มมีลูกขนไก่ที่ใช้ขนไก่หรือขนนกผูกเสียบติดกับหัวไม้ก๊อก และปรากฏมีภาพวาดแสดงให้เห็นมกุฏราชกุมารเจ้าฟ้าชายเฟรดเดอริคแห่งเดนมาร์คในศตวรรษที่ 17 เช่นเดียวกัน ทรงแบดมินตันด้วยแร็กเกต แต่ในยุคนั้นเรียกเกมเล่นนี้ว่าแบทเทิลดอร์กับลูกขนไก่ และเกมเล่นในลักษณะเดียวกัน มีการเล่นในราชสำนักของเยอรมนีสมัยศตวรรษที่ 18 กษัตริย์ของปรัสเซียเฟรดเดอ ริคมหาราช และพระเจ้าหลานเธอเฟรดเดอริค วิลเลียมที่สอง ได้ทรงแบดมินตันอย่างสม่ำเสมอ
ประวัติของกีฬาแบดมินตันมาบันทึกกันแน่นอนและชัดเจนในปี ค.ศ. 1870 ปรากฏว่ามีเกมการเล่นกีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่เมืองปูนาในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ห่างจากใต้เมืองบอมเบย์ประมาณ 50 ไมล์ ต่อมามีนายทหารอังกฤษที่ไปประจำการอยู่ที่นั่น นำเกมการตีลูกขนไก่กลับไปเล่น ในเกาะอังกฤษ และเล่นกันอย่างกว้างขวาง ณ คฤหาสน์ “แบดมินตัน” ของดยุ๊คแห่งบิวฟอร์ด ที่ตำบล กล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี ค.ศ. 1873 เกมกีฬาตีลูกขนไก่จึงถูกเรียกว่า “แบดมินตัน” ตามชื่อของสถานที่นับตั้งแต่นั้นมา
การแพร่หลายของกีฬาแบดมินตันและการก่อตั้งสหพันธ์ฯ
กีฬาแบดมินตันเริ่มแพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วภาคพื้นยุโรป เพราะเป็นเกมกีฬาที่มีส่วนคล้ายคลึงกับเทนนิส แต่สามารถเล่นได้ภายในตัวตึกหรือตามห้องโถงใหญ่ ๆ โดยไม่ทำให้ข้าวของแตกเสียหาย และไม่ต้องกังวลต่อกระแสลมหรือพายุหิมะที่โปรยกระหน่ำมาในช่วงฤดูหนาว ชาติมหาอำนาจจักรวรรดิ์นิยมทั้งอังกฤษและดัทช์ที่อพยพไปสู่ทวีปอเมริกา เอเชีย และออสเตรเลีย ต่างนำเอากีฬาแบดมินตันไปเล่นในประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้อาณานิคมอย่างแพร่หลาย เกมกีฬาแบดมินตันจึงถูกกระจายไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของโลกในช่วงเวลานั้น รวมทั้งประเทศไทยด้วย
มีการจัดแข่งขันชิงชนะเลิศแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่า ออล-อิงแลนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1889 แต่บรรยากาศของการแข่งขันออล-อิงลแนด์ในยุคต้น ๆ
ประวัติกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย
กีฬาแบดมินตันได้แพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว มีปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 2456 พระยานิพัตกุลพงษ์ เป็นคนไทยรุ่นแรกที่สร้างสนามแบดมินตันให้ลูกหลานเล่นเป็นการออกกำลังในยามว่าง ณ บริเวณบ้านริมคลองสมเด็จเจ้าพระยา
ในเวลาต่อมา หลวงชลาไลยกล เห็นว่าแบดมินตันเป็นกีฬาที่ดี เหมาะกับคนไทย เล่นได้ทั้งชายและหญิง เด็กเล็กและผู้ใหญ่ จึงสร้างสนามเพิ่มขึ้นอีก และเล่นแบดมินตันกันเป็นประจำในหมู่ญาติมิตรที่ตำบลสมเด็จเจ้าพระยาเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังปรากฏหลักฐานว่า กีฬาแบดมินตันเป็นที่นิยมเล่นกันประปรายในราชสำนักของไทยสมัย พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และสนามแบดมินตันในสมัยนั้นเป็นสนามกลางแจ้ง เวลามีลมพัดแรง หรือฝนตกก็เล่นแบดมินตันกันไม่ได้
กีฬาแบดมินตันแพร่หลายในหมู่คนไทยมากขึ้น คุณหลวงประคุณวิชาสนอง ได้จัดให้มีการแข่งขันแบดมินตันในราชวิทยาลัย แข่งขันในประเภทต่าง ๆ ต่อมาการแข่งขันได้แพร่หลายกว้างขวางออกไปอีก มีการแข่งขันประเภทสาม แข่งขันทั้งชายเภทชายสามและหญิงสาม ซึ่งถือว่าเป็นการแข่งขันประเภทที่สำคัญที่สุด และประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีการเล่นแบดมินตันประเภทสาม
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย คือสหพันธ์รัฐมลายู สามารถเอาชนะทีมชาติของยุโรป จนได้ครองตำแหน่งแชมเปี้ยนประเภททีมชายของโลก หรือโธมัสคัพ สร้างความตื่นเต้นให้แก่ประชาชาติเอเชียอย่างยิ่ง ที่ทีมจากเอเชียสามารถแข่งกีฬาจนเอาชนะชาติใหญ่ ๆ จากชาติตะวันตกได้ ท่ามกลางกระแสดังกล่าว ไทยได้เชิญนักแบดมินตันอันดับโลกของมลายู อาทิ ว่องเปงสูน อองโปหลิม อุยเต็คฮ็อค อิสเมล บิน มาร์จัน ฯลฯ เข้ามาสาธิตการเล่นกีฬาแบดมินตันมาตรฐานสากลในประเทศไทย เริ่มมีการสร้างสนามแบดมินตันมาตรฐานในร่ม มีการปรับปรุงพัฒนาวิธีการเล่นแบดมินตันให้ดียิ่งขึ้น แต่การเล่นแบดมินตันของคนไทยส่วนใหญ่ก็ยังเล่นกันนอกร่ม ต่อมาได้มีการสร้างสนามแบดมินตันมาตรฐานสากลแห่งแรกภายในบริเวณบ้านซอยพร้อมมิตรของ หลวงธรรมนูญวุฒิกร และ นางอวยพร ปัตตพงศ์ พร้อมทั้งได้เคี่ยวเข็ญฝึกฝนลูกหลานจนกระทั่งนักแบดมินตันไทยมีมาตรฐานการเล่นก้าวเข้าสู่ระดับโลก ลูกศิษย์แบดมินตันของ คุณหลวงธรรมนูญวุฒิกร มีพื้นฐานการเล่นที่ถูกต้องแน่นแฟ้น และนำพาทีมชาติแบดมินตันโธมัสคัพไทยไปครองตำแหน่งชนะเลิศแห่งเอเชียใน ปี ค.ศ. 1957 เข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศ Inter Zone ของโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์กีฬาแบดมินตันของไทยใรนปี ค.ศ. 1958 ท่านทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนเช้าเย็น ส่งเสริมปลุกปั้นพัฒนานักแบดมินตันไทยหลายคน อาทิ พินิจ ปัตตพงศ์ ประเทือง ปัตตพงศ์ อัจฉรา ปัตตพงศ์ ธนู ขจัดภัย เจริญ วรรธนะสิน บุบผา แก่นทอง สงบ รัตนุสสรณ์ บัณฑิต ใจ เย็น ศิลา อุเลา ฯลฯ นักกีฬาเหล่านี้ล้วนเป็นผลงานของท่านทั้งนั้น นักแบดมินตันหลายคนของท่านได้เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันออล-อิงแลนด์และครองตำแหน่งตำแหน่งชนะเลิศของโลกในการแข่งขันแบดมินตันนานาชาติจากหลายประเทศ เมื่อ หลวงธรรมนูญวุฒิกร ถึงแก่อนิจกรรม ท่านจึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งวงการแบดมินตันของไทย
ในปี พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระราชวงศ์จักรีชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์ ได้พระราชทานและประทานพระอุปถัมภ์แก่กีฬาแบดมินตันอย่างเข้มแข็ง ในหลวงทรงเป็นองค์อุปถัมภกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในปีเดียวกันนั้นและทรงแบดมินตันด้วยพระองค์เอง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา (พระราชศักดิ์ในสมัยนั้น)ทรงสนับสนุนทุนทรัพย์ส่งนักแบดมิน ตันไทยไปแข่งขัน ออล-อิงแลนด์ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501
และที่ต้องบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์สำคัญไม่เฉพาะแต่วงการแบดมินตันเท่านั้น แต่เป็นของวงการกีฬาเมืองไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระทานราชทุนการศึกษาส่วนพระองค์ให้แก่นักแบดมินตันทีมชาติไทย เจริญ วรรธนะสิน ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ยังความปลาบปลื้มของวงการกีฬาไทยอย่างหาที่สุดมิได้ เพราะในยุคนั้นยังไม่มีหน่วยงานกีฬาของรัฐ
ในปีต่อ ๆ มา พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา ทรงสนับสนุนทุนทรัพย์ส่งนักแบดมินตันไทยไปแข่งขันออล-อิงแลนด์และประเทศต่าง ๆ ในยุโรป พร้อมทั้งทรงประทานกำลังใจด้วยการเสด็จทอดพระเนตรการแข่งขันอย่างใกล้ชิดทั้งในเอเชียและยุโรป ท่านพระองค์หญิงยังทรงสร้างสนามมาตรฐานขึ้นและก่อตั้งสโมสรแบดมินตันแร็กเก็ตมิวเซียมขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510
วงการแบดมินตันไทยได้พัฒนาตัวเองจนเป็นสมาคมกีฬาชั้นนำสมาคมหนึ่งของประเทศไทย เป็นสมาคมกีฬาที่ส่งนักกีฬาไปแข่งขันต่างประเทศ มากที่สุด อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 วงการแบดมินตันเริ่มใช้แนวทางการตลาดสิทธิประโยชน์เข้ามาบริหาร เริ่มระบบการดึงผู้อุปถัมภ์รายการจากต่างประเทศเข้ามาแทนระบบบริจาคช่วยเหลือ เริ่มต้นจัดการแข่งขันกรังด์ปรีซ์เซอร์โลกที่มีเงินรางวัลนับล้านบาทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นการพลิกโฉมวงการแบดมินตันไทยให้ก้าวทันการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของโลก
กิจกรรมของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะดำเนินมาไกลถึงเพียงนี้ไม่ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาสปอนเซอร์ต่าง ๆ ในต่างประเทศ เช่น โปร-เคนเน็ก โกเซ็น NEC ESPN ยูนิแคล และบริษัทห้างร้านภายในประเทศ เช่น ไทยออยล์ เบียร์สิงห์ เบียร์ช้าง มิตซูบิชิ และ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) ที่เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเยาวชนของชาติ ได้ให้การ
สนับสนุนการแข่งขันแบดมินตันเครือซิเมนต์ไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ปัจจุบันยังคงให้การอุปถัมภ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดการแข่งขันชิงแชมเปี้ยนแบดมินตันประเทศไทย และแบดมินตันกรังด์ปรีซ์เซอร์กิตโลก และโครงการ “ไฟแห่งพุ่มไม้เขียว” จากปี ค.ศ. 2004-2008
กีฬาแบดมินตันได้รับการบรรจุเป็นกีฬาสาธิตในโปรแกรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ในปี ค.ศ. 1980 ที่เมืองมิวนิค เยอรมนี แต่ไม่ได้รับการบรรจุในทันที เนื่องจากเกิดการแตกแยกในวงการแบดมินตันของโลก จนกระทั่งได้รับการบรรจุอย่างเป็นทางการในบาร์เซโลนาเกมส์ที่สเปนถึงปี ค.ศ. 1992 แบดมิน ตันได้กลายเป็นกีฬาโอลิมปิคเต็มตัวตั้งแต่นั้นมา และนักแบดมินตันไทยได้ผ่านรอบควอลิฟายคัดเลือกเข้าสู่สายใหญ่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคทุกครั้ง ล่าสุดที่การแข่งขันครั้งที่ 28 ที่กรุงเอเธนส์ นักแบดฯ ไทยได้เข้ารอบมากถึง 8 คน ครบทุกประเภทเป็นประวัติการณ์ และบุญศักดิ์ พลสนะ ได้เข้าถึงรอบชิงรองชนะเลิศเซมิไฟแนลของประเภทชายเดี่ยว
วงการแบดมินตันไทยยังจะพัฒนาไปข้างหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง ตราบใดที่คนบริหารไม่นำพากีฬาแบดมินตันกลายเป็นเกมการเมือง มือสะอาด ไม่เข้ามาหาผลประโยชน์จากวงการ มีจิตวิญญาณที่รักและเห็นประโยชน์ของวงการแบดมินตันเป็นเป้าหมายสูงสุด ถ้าทำอย่างนี้ได้ ความเชื่อถือ ศรัทธา จากผู้ให้ความอุปถัมภ์ ก็จะไม่จืดจางถอยห่างจากวงการแบดมินตันอย่างแน่นอน
1.สนามและอุปกรณ์สนาม
1.1 สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยเส้นกว้างขนาด 40 มิลลิเมตร
1.2 เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด และควรทาด้วยสีขาวหรือสีเหลือง
1.3 เส้นทุกเส้นเป็นส่วนประกอบของพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้
1.4 เสาตาข่ายจะต้องสูง 1.55 เมตรจากพื้นสนาม และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึงตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 1.10 โดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้าไปในสนาม (ระเบียบนี้ให้ใช้เฉพาะรายการแข่งขันที่ IBF รับรอง ส่วนรายการแข่งขันอื่นให้เริ่มใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2547)
1.5 เสาตาข่ายจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของประเภทคู่ตามที่ได้แสดงไว้ในภาพที่ 1 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเล่นเดี๋ยวหรือเล่นคู่
1.6 ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้ม และมีขนาดตากว้างไม่น้อยกว่า 15 มิลลิเมตร และไม่เกิน 20 มิลลิเมตร
1.7 ตาข่ายต้องมีความกว้าง 760 มิลลิเมตร และความยาวอย่างน้อย 6.1 เมตร
1.8 ขอบบนของตาข่ายต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสองทบ ขนาดกว้าง 75 มิลลิเมตร ทับบนเชือกหรือลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าขาว
1.9 เชือกหรือลวดต้องมีขนาดพอที่จะขึงให้ตึงเต็มที่กับหัวเสา
1.10 สุดขอบบนตาข่ายต้องสูงจากพื้นตรงกึ่งกลางสนาม 1.524 เมตร และ 1.55 เมตร เหนือเส้นเขตข้างของประเภทคู่
1.11 ต้องไม่มีช่องว่างระหว่างสุดปลายตาข่ายกับเสา ถ้าจำเป็นต้องผูกร้อยปลายตาข่ายทั้งหมดกับเสา
2. ลูกขนไก่
2.1 ลูกขนไก่อาจทำจากวัสดุธรรมชาติ และ/หรือ วัสดุสังเคราะห์ไม่ว่าลูกนั้นจะทำจากวัสดุชนิดใดก็ตาม ลักษณะวิถีวิ่ง
2.2 ลูกขนไก่ต้องมีขน 16 อัน ปักอยู่บนฐาน
2.3 วัดจากปลายขนถึงปลายสุดของฐาน โดยความยาวของขนในแต่ละลูกจะเท่ากันหมด ระหว่าง 6.2 มิลลิเมตร ถึง 70 มิลลิเมตร
2.4 ปลายขนแผ่เป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 58 มิลลิเมตร ถึง 68 มิลลิเมตร
2.5 ขนต้องมัดให้แน่นด้วยเส้นด้ายหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม
2.6 ฐานของลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร ถึง 28 มิลลิเมตร และส่วนล่างมนกลม
2.7 ลูกขนไก่จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 4.74 ถึง 5.50 กรัม
2.8 ลูกขนไก่ที่ไม่ใช้ขนธรรมชาติ
2.8.1 ใช้วัสดุสังเคราะห์แทนขนธรรมชาติ
2.8.2 ฐานลูก ดังที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.6
2.8.3 ขนาดและน้ำหนักของลูกต้องเป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.3, 2.4 และ 2.7 อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของความถ่วงจำเพาะและคุณสมบัติของวัสดุสังเคราะห์โดยการเปรียบเทียบกับขนธรรมชาติ ยอมให้มีความแตกต่างได้ถึง 10%
2.9 เนื่องจากมิได้กำหนดความแตกต่างในเรื่องลักษณะทั่วไป ความเร็ว และวิถีวิ่งของลูก อาจมีการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นได้โดยการอนุมัติจากองค์กรแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง ในที่ซึ่งสภาพความกดอากาศสูงหรือสภาพดินฟ้าอากาศเป็นเหตุให้ลูกขนไก่ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสม
3. การทดสอบความเร็วของลูก
3.1 การทดสอบ ให้ยืนหลังเส้นเขตหลังแล้วตีลูกใต้มืออย่างสุดแรงโดยจุดสัมผัสลูกอยู่เหนือเส้นเขตหลัง ลูกจะพุ่งเป็นมุมสูงและอยู่ในแนวขนานกับเส้นเขตข้าง
3.2 ลูกที่มีความเร็วถูกต้อง จะตกห่างจากเส้นเขตหลังของอีกด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า 530 มิลลิเมตร และไม่มากกว่า 990 มิลลิเมตร
4. แร็กเกต
4.1 เฟรมของแร็กเกตยาวทั้งหมดไม่เกิน 680 มิลลิเมตร และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 230 มิลลิเมตร ส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญได้อธิบายไว้ในกติกาข้อ 4.1.1 ถึง 4.1.5 และได้แสดงไว้ในภาพที่ 3
4.1.1 ด้ามจับ เป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้จับ
4.1.2 พื้นที่ขึงเอ็น เป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้ตีลูก
4.1.3 หัว บริเวณที่ใช้ขึงเอ็น
4.1.4 ก้าน ต่อจากด้ามจับถึงหัว (ขึ้นอยู่กับกติกาข้อ 4.1.5)
4.1.5 คอ (ถ้ามี) ต่อก้านกับขอบหัวตอนล่าง
4.2 พื้นที่ขึงเอ็น
4.2.1 พื้นที่ขึงเอ็นต้องแบนราบ ด้วยการร้อยเอ็นเส้นขวางขัดกับเส้นยืนแบบการขึงเอ็นทั่วไป โดยพื้นที่ตอนกลาง ไม่ควรทึบน้อยกว่าตอนอื่น ๆ
4.2.2 พื้นที่ขึงเอ็นต้องยาวทั้งหมดไม่เกิน 280 มิลลิเมตร และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 220
มิลลิเมตร อย่างไรก็ตามอาจขึงไปถึงคอเฟรมหากความกว้างที่เพิ่มของพื้นที่ขึงเอ็นนั้นไม่เกิน 35 มิลลิเมตรและความยาวทั้งหมดของพื้นที่ขึงเอ็นต้องไม่เกิน 330 มิลลิเมตร
4.3 แร็กเกต
4.3.1 ต้องปราศจากวัตถุอื่นติดอยู่ หรือยื่นออกมา ยกเว้นจากส่วนที่ทำเพื่อจำกัดและป้องกันการสึกหรอ ชำรุดเสียหาย การสั่น สะเทือน การกระจายน้ำหนัก หรือการพันด้ามจับให้กระชับมือผู้เล่นและมีความเหมาะสมทั้งขนาดและการติดตั้งสำหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว และ
4.3.2 ต้องปราศจากสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ที่ช่วยให้ผู้เล่นเปลี่ยนรูปทรงของแร็กเกต
5. การยอมรับอุปกรณ์
สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ จะกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับปัญหาของแร็กเกต ลูกขนไก่ หรืออุปกรณ์ต้นแบบ ซึ่งใช้ในการเล่นแบดมินตันให้เป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ กฎเกณฑ์ดังกล่าวอาจเป็นการริเริ่มของสหพันธ์เองหรือจากการยื่นความจำนงของคณะบุคคลที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอย่างแท้จริงกับผู้เล่น ผู้ผลิต หรือองค์กรแห่งชาติหรือสมาชิกองค์กรนั้น ๆ
6. การเสี่ยง
6.1ก่อนเริ่มเล่น จะต้องทำการเสี่ยง ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์เลือกตามกติกาข้อ 6.1.1 หรือ
6.1.2
6.1.1 ส่งลูกหรือรับลูกก่อน
6.1.2 เริ่มเล่นจากสนามข้างใดข้างหนึ่ง
6.2 ฝ่ายที่แพ้การเสี่ยง มีสิทธิ์ที่เหลือจากการเลือก
7. ระบบการนับคะแนน
7.1 แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม เว้นแต่จะไม่กำหนดเป็นอย่างอื่น
7.2 ในประเภทชายคู่และประเภทชายเดี่ยว ฝ่ายที่ได้ 15 คะแนน ก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7.5
7.3 ในประเภทหญิงเดี่ยว ฝ่ายที่ได้ 11 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7.5
7.4 ฝ่ายส่งลูกเท่านั้น เป็นฝ่ายได้คะแนน (กติกาข้อ 10.3 หรือ 11.5)
7.5 ถ้าได้ 14 คะแนนเท่ากัน (10 คะแนนเท่ากันในประเภทหญิงเดี่ยว) ฝ่ายที่ได้ 14 (10) คะแนนก่อน มีสิทธิ์เลือกตามกติกาข้อ 7.5.1 หรือ 7.5.2
7.5.1 ต่อเกมนั้นถึง 15 (11) คะแนน กล่าวคือ “ไม่เล่นต่อ” ในเกมนั้นคือ
7.5.2 “เล่นต่อ” เกมนั้นถึง 17 (13) คะแนน
7.6 ฝ่ายชนะ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมต่อไป
8.การเปลี่ยนข้าง
8.1 ผู้เล่นจะเปลี่ยนข้าง
8.1.1 หลังจากจบเกมที่ 1
8.1.2 ก่อนเริ่มเล่นเกมที่ 3 (ถ้ามี) และ
8.1.3 ในเกมที่ 3 หรือในการแข่งขันเกมเดียว เมื่อคะแนนนำถึง
- 6 คะแนน สำหรับเกม 11 คะแนน
- 8 คะแนน สำหรับเกม 15 คะแนน
8.2 ถ้าผู้เล่นลืมเปลี่ยนข้างตามที่ได้ระบุไว้ในกติกาข้อ 8.1 ผู้เล่นต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้ตัวและลูกไม่อยู่ในการเล่น และให้นับคะแนนต่อจากคะแนนที่ได้ในขณะนั้น
9.การส่งลูก
9.1 การส่งลูกที่ถูกต้อง
9.1.1 ทั้งสองฝ่ายต้องไม่ประวิงเวลาให้เกิดความล่าช้าในการส่งลูกทันทีที่ผู้เล่นจะส่งลูก และผู้รับลูกอยู่ในท่าพร้อมแล้ว
9.1.2 ผู้ส่งลูกและผู้รับลูกต้องยืนในสนามส่งลูกทแยงมุมตรงข้ามโดยเท้าไม่เหยียบเส้นเขตของสนามส่งลูก
9.1.3 บางส่วนของเท้าทั้งสองของผู้ส่งลูกและผู้รับลูกต้องสัมผัสพื้นสนามในท่านิ่งตั้งแต่เริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 9.4 ) จนกระทั่งส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 9.5)
9.1.4 จุดสัมผัสแรกของแร็กเกต ผู้ส่งต้องตีที่ฐานของลูก
9.1.5 ทุกส่วนของลูกจะต้องอยู่ต่ำกว่าเอวของผู้ส่ง ขณะที่แร็กเกตสัมผัสลูก
9.1.6 ก้านแร็กเกตของผู้ส่งลูกในขณะตีลูก ต้องชี้ลงต่ำจนเห็นได้ชัดว่า ส่วนหัวทั้งหมดของแร็กเกตอยู่ต่ำกว่าทุกส่วนของมือที่จับแร็กเกตของผู้ส่งลูก
9.1.7 การเคลื่อนแร็กเกตของผู้ส่งลูกไปข้างหน้า ต้องต่อเนื่องจากการเริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 9.4) จนกระทั่งได้ส่งลูกแล้ว และ
9.1.8 วิถีลูกจะพุ่งขึ้นจากแร็กเกตของผู้ส่งลูกข้ามตามข่ายและถ้าปราศจากการสกัดกั้น ลูกจะตกลงบนพื้นสนามส่งลูกของผู้รับลูก(กล่าวคือบนหรือภายในเส้นเขต)
9.2 ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง ตามกติกาของข้อ 9.1.1 ถึง 9.1.8 ถือว่าฝ่ายทำผิด “เสีย” (กติกาข้อ 13)
9.3 ถือว่า “เสีย” ถ้าผู้ส่งลูกพยายามจะส่งลูก โดยตีไม่ถูกลูก
9.4 เมื่อผู้เล่นอยู่ในท่าพร้อมแล้ว การเคลื่อนแร็กเกตไปข้างหน้าของผู้ส่งลูกถือว่า เริ่มส่งลูก
9.5 ถือว่าได้ส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 9.4) ถ้าแร็กเกตของผู้ส่งสัมผัสลูกหรือพยายามจะส่งลูกแต่ตีไม่ถูกลูก
9.6 ผู้ส่งลูกจะส่งลูกไม่ได้ถ้าผู้รับลูกยังไม่พร้อม แต่ถือว่าผู้รับลูกพร้อมแล้วพยายามตีลูกที่ส่งมากลับไป
9.7 ในประเภทคู่ คู่ขาจะยืน ณ ที่ใดก็ได้ โดยไม่บังผู้ส่งลูกและผู้รับลูก
10.ประเภทเดี่ยว
10.1 สนามส่งลูกและรับลูก
10.1.1 ผู้เล่นจะส่งลูกรับลูกในสนามส่งลูกด้านขวาเมื่อผู้ส่งลูกคะแนนไม่ได้ หรือคะแนนที่ได้เป็นเลขคู่ในเกมนั้น
10.1.2 ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านซ้ายเมื่อผู้ส่งลูกได้คะแนนเป็นเลขคี่ในเกมนั้น
10.2 คะแนนและการส่งลูก
10.3.1 ถ้าผู้รับทำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น
10.3 คะแนนและการส่งลูก
10.3.1 ถ้าผู้รับทำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงพื้นสนามของผู้รับ ผู้ส่งลูกได้คะแนน ผู้ส่งจะได้ส่งลูกต่อไปในสนามส่งอีกด้านหนึ่ง
10.3.2 ถ้าผู้ส่งทำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้ส่ง ผู้ส่งหมดสิทธิ์การส่งลูก และผู้รับก็จะได้เป็นผู้ส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน
11.ประเภทคู่
11.1 เมื่อเริ่มเล่นแต่ละครั้ง ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่ง ต้องเริ่มส่งจากสนามส่งลูกด้านขวา
11.2 ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไป ถ้าลูกถูกตัว หรือคู่ขาของผู้รับตีลูก ถือว่า “เสีย” ผู้ส่งลูกได้ 1 คะแนน
11.3 ลำดับการเล่นและตำแหน่งยืนในสนาม
11.3.1 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว ผู้เล่นของฝ่ายส่งคนหนึ่งคนใดตีลูกกลับไป และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายรับโต้ลูกกลับมา เป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าลูกไม่อยู่ในการเล่น
11.3.2 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจะตีโต้ลูกจากที่ใดก็ได้ภายในสนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น
11.4 สนามส่งลูกและรับลูก
11.4.1 ผู้เล่นที่มีสิทธิ์ส่งตอนเริ่มต้นของแต่ละเกมจะส่งหรือรับลูกในสนามส่งด้านขวา เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกด้านซ้ายเมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่
11.4.2 ผู้เล่นที่เป็นผู้รับตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะรับหรือส่งลูกในสนามส่งลูกด้านขวา เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกด้านซ้าย เมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่
11.4.3 ให้คู่ขาของผู้เล่นปฏิบัติในทางกลับกัน
11.5 คะแนนและการส่งลูก
11.5.1 ถ้าฝ่ายรับทำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายรับ ฝ่ายส่งได้ 1 คะแนน และผู้ส่งยังคงได้ส่งลูกต่ออีก
11.5.2 ถ้าฝ่ายส่งทำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายส่ง ผู้ส่งหมดสิทธิ์ส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน
11.6 การส่งลูกทุกครั้ง ต้องส่งจากสนามส่งลูกสลับกันไปยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในกติกาข้อ 12 และข้อ 14
11.7 ในการเริ่มต้นเกมใดก็ตาม ผู้มีสิทธิ์ส่งคนแรกส่งลูกจากสนามด้านขวาไปยังผู้รับลูกคนแรกและส่งไปยังคู่ขาของผู้รับตามลำดับไปจนกระทั่งเสียสิทธิ์ จึงจะเปลี่ยนส่งไปให้ฝ่ายตรงข้ามที่จะต้องเริ่มส่งจากสนามด้านขวา (กติกาข้อ 11.4 ) จากนั้นจะให้คู่ขาส่งสลับกันไป
11.8 ห้ามผู้เล่นส่งลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่ง หรือรับลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้รับ หรือรับลูกส่งติดต่อกันสองครั้งในเกมเดียวกัน ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 12 และข้อ 14
11.9 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายชนะ จะเป็นผู้ส่งลูกก่อนในเกมต่อไปก็ได้ และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายแพ้จะเป็นผู้รับลูกก่อนก็ได้
12. ความผิดในสนามส่งลูก
12.1 ความผิดในสนามส่งลูกเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่น
12.1.1 ส่งลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่ง
12.1.2 ส่งลูกจากสนามส่งลูกที่ผิด หรือ
12.1.3 ยืนผิดสนามและได้เตรียมที่จะรับลูกที่ส่งมา
12.2 ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกก่อนส่งลูกครั้งต่อไป
12.2.1 หากฝ่ายหนึ่งทำผิดและชนะในการตีโต้ให้”เอาใหม่”
12.2.2 หากฝ่ายหนึ่งทำผิดและแพ้ในการตีโต้ ไม่มีการแก้ไขความผิด
12.2.3 หากทั้งสองฝ่ายทำความผิดด้วยกันให้ “เอาใหม่”
12.3 ถ้ามีการ “เอาใหม่” เพราะความผิดในสนามส่งลูก ให้เล่นใหม่พร้อมกับแก้ไข
12.4 ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกหลังจากได้ส่งลูกครั้งต่อไป แล้วจะไม่มีการแก้ไขความผิดนั้น ให้เล่นต่อไปโดยไม่มีการเปลี่ยนสนามส่งลูกใหม่ของผู้เล่น (หรือให้เปลี่ยนลำดับใหม่ของการส่งลูกในกรณีเดียวกัน)
13. การทำ”เสีย”
ถือว่า “เสีย”
13.1 ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง (กติกาข้อ 9.1) หรือตามกติกาข้อ 9.3 หรือการรับลูกไม่ถูกต้องตามกติกาข้อ 11.2
13.2 ถ้าในขณะเล่น ลูกขนไก่
13.2.1 ตกลงบนพื้นนอกเส้นเขตสนาม (กล่าวคือ ไม่อยู่บนหรือภายในเส้นเขตสนาม)
13.2.2 ลอดผ่านหรือลอดใต้ตาข่าย
13.2.3 ไม่ข้ามตาข่าย
13.2.4 ถูกเพดาน หรือฝาผนัง
13.2.5 ถูกตัวผู้เล่น หรือเครื่องแต่งกายผู้เล่น
13.2.6 ถูกวัตถุหรือตัวบุคคลภายนอกที่อยู่ใกล้เคียงล้อมรอบสนาม (ในกรณีที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวอาคาร ผู้มีอำนาจเกี่ยวกับแบดมินตันต้องถิ่นอาจวางกฎเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกถูกสิ่งกีดขวางได้ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่สิทธิความเห็นชอบของภาคีสมาชิก)
13.3 ถ้าในระหว่างการเล่น ผู้เล่นตีลูกก่อนที่ลูกจะข้ามตาข่ายมาในเขตสนามของตัวเอง (อย่างไรก็ดี ผู้ตีอาจใช้แร็กเกตตามลูกข้ามตาข่ายในระหว่างตีลูก)
13.4 ถ้าลูกอยู่ในระหว่างการเล่น ผู้เล่น
13.4.1 ถูกตาข่ายหรืออุปกรณ์ที่ขึง ด้วยแร็กเกต ด้วยตัวหรือด้วยเครื่องแต่งกาย
13.4.2 ล้ำบนตาข่ายเข้าไปในเขตสนามของคู่ต่อสู้ ด้วยแร็กเกต ด้วยตัว ยกเว้นตามที่ได้รับอนุญาตไว้ในกติกาข้อ 13.3
13.4.3 ล้ำใต้ตาข่ายไปในเขตสนามของคู่ต่อสู้ด้วยแร็กเกตหรือด้วยตัวจนเป็นการกีดขวางหรือทำลายสมาธิคู่ต่อสู้
13.4.4 กีดขวางคู่ต่อสู้ กล่าวคือ กันไม่ให้คู่ต่อสู้ตีลูกที่ข้ามตาข่ายมาอย่างถูกต้องตามกติกา ในขณะที่เล่นลูกอยู่เหนือข่าย
13.5 ถ้าในระหว่างการเล่น ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจงใจทำลายสมาธิคู่ต่อสู้ด้วยการกระทำต่าง ๆ เช่น ร้องตะโกนหรือแสดงท่าทาง
13.6 ถ้าระหว่างการอ่าน ลูกขนไก่
13.6.1 ติดอยู่ในแร็กเกต แล้วถูกเหวี่ยงออกไปในระหว่างตีลูก
13.6.2 ถูกตีสองครั้งติดต่อกัน โดยผู้เล่นคนเดียวกัน
13.6.3 ถูกตีโดยผู้เล่นคนหนึ่ง และคู่ขาของผู้เล่นคนนั้นตีติดต่อกัน หรือ
13.6.4 ถูกแร็กเกตของผู้เล่นคนหนึ่ง แล้วลอยไปทางท้ายสนามด้านหลังของผู้เล่นคนนั้น
13.7 ถ้าผู้เล่นทำผิดอย่างโจ่งแจ้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือผิดพลาดอยู่ตลอดตามกติกาข้อ 16
13.8 ถ้าหลังจากส่งลูกแล้วลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่ายหรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่าย
14. การ “เอาใหม่”
14.1การ “เอาใหม่” จะขานโดยกรรมการผู้ตัดสิน หรือโดยผู้เล่น (ไม่มีกรรมการผู้ตัดสิน) ขานให้หยุดเล่น
14.1.1 ให้ “เอาใหม่” ถ้าผู้ส่งลูก ส่งลูกโดยที่ผู้รับลูกยังไม่พร้อม (ดูกติกาข้อ 9.6)
14.1.2 ให้ “เอาใหม่” ถ้าในระหว่างการส่งลูก ผู้รับและผู้ส่งลูกทำ “เสีย” พร้อมกัน
14.1.3 ให้ “เอาใหม่” ถ้าลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่ายหรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่าย ยกเว้นในการส่งลูก
14.1.4 ให้ “เอาใหม่” ถ้าในระหว่างการเล่น ลูกขนไก่แตกแยกออกเป็นส่วน ๆ และฐานแยกออกจากส่วนที่เหลือของลูกโดยสิ้นเชิง
14.1.5 ให้ “เอาใหม่” ถ้ากรรมการกำกับเส้นมองไม่เห็น และกรรมการผู้ตัดสินไม่สามารถตัดสินไม่สามารถตัดสินใจได้
14.1.6 การ “เอาใหม่” สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดในสนามส่งลูก ตามที่ระบุในกติกาข้อ 12.2.1 หรือ 12.2.3 หรือ
14.1.7 ให้ “เอาใหม่” สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อนหรือโดยเหตุบังเอิญ
14.2 เมื่อมีการ “เอาใหม่” การเล่นหลังจาการส่งลูกครั้งสุดท้ายถือเป็นโมฆะ และผู้เล่นที่ส่งลูกจะได้ลูกอีกครั้งหนึ่ง ยกเว้นหากเป็นไปตามกติกาข้อ 12
15. ลูกไม่อยู่ในการเล่น
ลูกไม่อยู่ในการเล่น เมื่อ
15.1 ลูกชนตาข่ายแล้วติดอยู่ที่ตาข่าย หรือค้างอยู่บนขอบตาข่าย
15.2 ลูกชนตาข่ายหรือเสาตาข่ายแล้วตกลงบนพื้นสนามในด้านของผู้ตีลูก
15.3 ลูกถูกพื้นสนาม หรือ
15.4 เกิดการ “เสีย” หรือการ “เอาใหม่”
16. การเล่นต่อเนื่อง การทำผิด การลงโทษ
16.1 การเล่นต้องต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มส่งลูกแรกจนสิ้นสุดการแข่งขันยกเว้นตามที่ได้อนุญาตไว้ในกติกาข้อ 16.2 และ 16.3
16.2 พักระหว่างการจบเกมที่ 1 และเริ่มเกมที่ 2 ได้ไม่เกิน 90 วินาที และไม่เกิน 5 นาที ระหว่างจบเกมที่ 2 และเริ่มเกมที่ 2 และเริ่มเกมที่ 3 อนุญาตสำหรับทุกแมทช์ของการแข่งขัน(ในการแข่งขันที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์กรรมการผู้ชี้ขาดอาจตัดสินใจก่อนเริ่มการแข่งขันว่า การพักตามกติกาข้อ 16.2 อยู่ในอาณัติและเวลากำหนด)
16.3 พักการเล่น
16.3.1 เมื่อมีความจำเป็นจากสภาพแวดล้อมที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เล่น กรรมการผู้ตัดสินอาจสั่งให้พักการเล่นชั่วคราวตามที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็น
16.3.2 ภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจแนะให้กรรมการผู้ตัดสินพักการเล่น
16.3.3 ถ้ามีการพักการเล่น คะแนนที่ได้จะอยู่คงเดิมและจะเริ่มใหม่จากคะแนนนั้น
16.4 การถ่วงเวลาการเล่น
16.4.1 ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ห้ามถ่วงเวลาการเล่นเพื่อให้ผู้เล่นฟื้นคืนกำลัง หรือหายเหนื่อย
16.4.2 กรรมการผู้ตัดสินจะวินิจฉัยความล่าช้าแต่เพียงผู้เดียว
16.5 คำแนะนำและการออกนอกสถาน
16.5.1 ห้ามผู้เล่นรับคำแนะนำระหว่างการแข่งขัน ยกเว้นการพักตามกติกาข้อ 16.2 และ 16.3
16.5.2 ห้าผู้เล่นเดินออกนอกสนามระหว่างการแข่งขันโดยมิได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสิน ยกเว้นระหว่างพัก 5 นาที ตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 16.2
16.6 ผู้เล่นต้องไม่
16.6.1 จงใจถ่วงเวลาหรือพักการเล่น
16.6.2 จงใจแปลงหรือทำลายลูกเพื่อเปลี่ยนความเร็วและวิถี
16.6.3 แสดงกิริยาก้าวร้าว หรือ
16.6.4 กระทำผิดนอกเหนือกติกา
16.7 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องดำเนินการกับความผิดตามกติกาข้อ 16.4, 16.5 หรือ 16.6 โดย
16.7.1 เตือนผู้กระทำผิด
16.7.2 ตัดสิทธิ์ผู้กระทำผิดหลังจากได้เตือนก่อนแล้ว
16.7.3 ในกรณีผิดอย่างเห็นได้ชัดหรือผิดอยู่ตลอด ให้ตัดสิทธิ์ผู้กระทำผิด แล้วรายงานให้กรรมการผู้ชี้ขาดทราบทันทีซึ่งกรรมการผู้ชี้ขาดมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำผิดออกจากการแข่งขัน
17.กรรมการสนามและการอุทธรณ์
17.1 กรรมการผู้ชี้ขาดเป็นดูแลรับผิดชอบการแข่งขันทั้งหมด
17.2 กรรมการผู้ตัดสินที่ได้รับแต่งตั้งจะตั้งจะต้องทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน สนามและบริเวณโดยรอบสนามแข่งขัน กรรมการผู้ตัดสินต้องรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาด
17.3 กรรมการกำกับการส่งลูกเป็นผู้ขาน “เสีย” สำหรับการส่งลูกที่ผู้ส่งเป็นผู้กระทำ (กติกาข้อ 9.1.2 – 9.1.7)
17.4 กรรมการกำกับเส้นเป็นผู้ให้สัญญาณ “ดี” หรือ “ออก” ในเส้นเขตที่ได้รับมอบหมาย
17.5 การผู้ตัดสินใจเกี่ยวข้อเท็จจริงทั้งหมดของกรรมการสนามที่รับผิดชอบถือว่าสิ้นสุด
17.6 กรรมการผู้ตัดสินจะต้อง
17.6.1 ควบคุมการแข่งขันให้ดำเนินไปภายใต้ภายใต้กฎกติกาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขาน “เสีย” หรือ “เอาใหม่” เมื่อมีกรณีเกิดขึ้น
17.6.2 ตัดสินคำอุทธรณ์เกี่ยวกับการโต้แย้ง ซึ่งมีขึ้นก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป
17.6.3 แน่ใจว่า ผู้เล่นและผู้ชมได้ทราบถึงความคืบหน้าของการแข่งขัน
17.6.4 แต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการกำกับเส้น หรือกรรมการกำกับการส่งลูก หลังจากได้ปรึกษากับกรรมการผู้ชี้ขาดแล้ว
17.6.5 หากไม่มีการแต่งตั้งกรรมการสนามอื่น จะต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นให้เรียบร้อย
17.6.6 หากกรรมการสนามที่ได้รับการแต่งตั้งมองไม่เห็นต้องดำเนินการในหน้าที่ของกรรมการนั้น หรือให้ “เอาใหม่”
17.6.7 บันทึกและรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาดทุกเรื่องที่เกี่ยวกับกติกาข้อ 16 และ
17.6.8 เสนอคำอุทธรณ์ที่ไม่พึงพอใจในปัญหาเกี่ยวกับกติกาต่อกรรมการผู้ชี้ขาด (คำอุทธรณ์ดังกล่าวจะต้องเสนอก่อนการส่งลูกครั้งต่อไปหรือเมื่อการแข่งขันสุดลงก่อนที่ฝ่ายอุทธรณ์จะเดินออกจากสนาม)
การแปรสนามและอุปกรณ์
1. หากไม่สะดวกที่จะตั้งเสาตาข่ายบนเส้นเขตข้างจะต้องหาวิธีแสดงให้เห็นแนวของเส้นเขตข้างที่ลอดผ่านตาข่าย กล่าวคือ ใช้เสาบาง ๆ หรือวัสดุที่เป็นแถบยาวกว้าง 40 มิลลิเมตร กล่าวคือ ใช้เสาบาง ๆ หรือวัสดุที่เป็นแถบยาวกว้าง 40 มิลลิเมตร ติดตั้งบนเส้นเขตข้างตรงขึ้นไปยังเชือกหรือลวดร้อยตาข่าย
2.พื้นที่ที่ไม่อาจทำสนามสำหรับประเภทคู่ จะทำสนามประเภทเดี่ยวก็ได้ตามที่ได้แสดงไว้ใน ภาพที่ 5 เส้นเขตหลังของการส่งลูกยาว และเสาหรือวัสดุที่เป็นแถบยาวใช้แทนเสา จะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้าง
การแข่งขันต่อแต้ม
ในการแข่งขันต่อแต้ม ให้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาดังต่อไปนี้
1. ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนคะแนนที่ชนะของเกมหนึ่ง ๆ (กล่าวคือไม่อนุญาตให้เล่นต่อตามกติกาข้อ 7.4 )
2. ให้แก้กติกาข้อ 8.1.3 เป็น
“ในเกมที่ 3 และในการแข่งขันเกมเดียว เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำคะแนนได้ครึ่งหนึ่งของคะแนนทั้งหมดที่ต้องการในเกมนั้น” (ในกรณีมีเศษให้ปัดขึ้น)
เกมนอกเหนือ 11 หรือ 15 แต้ม
อนุญาตให้เล่นเกมเดียว 21 คะแนน หรือ 5 เกม 7 คะแนน โดยตกลงกันล่วงหน้า
กติกาที่ควรเน้นเป็นพิเศษ
ข้อ 9 การส่งลูกที่ถูกต้อง
- ไม่ประวิงเวลา
- ยืนไม่เหยียบเส้นเขตสนามส่งลูก
- บางส่วนของเท้าทั้งสองสัมผัสพื้นสนามในท่านิ่ง
- จุดสัมผัสแรกต้องตีฐานของลูก
- ทุกส่วนของลูกอยู่ต่ำกว่าเอว
- ก้านแร็กเกตชี้ต่ำ ส่วนหัวทั้งหมดอยู่ต่ำกว่าทุกส่วนของมือ
- การเคลื่อนแร็กเกตต้องต่อเนื่องเมื่อเริ่มส่งลูก
- วิถีของลูกที่ส่งออกไปจะต้องพุ่งขึ้น
การส่งลูกเสีย หรือต้องเอาใหม่
- ผิดกติกาทั้ง 8 ข้อ รวมทั้ง
- พยายามส่งแต่ตีไม่ถูกลูก
- ผู้รับยังไม่พร้อม
- แร็กเกตสัมผัสลูกแล้ว
ข้อ 12 ความผิดในสนามส่งลูก
- ส่งลูกผิดมือ
- ส่งลูกผิดคอร์ท
- ยืนรับผิดคอร์ท
การตัดสิน
- หากพบความผิดก่อนการส่งครั้งต่อไป
กรณีที่ 1 หากฝ่ายทำผิดชนะการตีโต้ให้ “เอาใหม่”
กรณีที่ 2 หากฝ่ายทำผิดแพ้การตีโต้ ไม่มีการแก้ไข
กรณีที่ 3 หากทั้งสองฝ่ายทำผิดให้ “เอาใหม่”
- หากพบความผิดหลังการส่งลูกครั้งต่อไป ไม่ต้องแก้ไข
ข้อ 13 การทำเสีย
ขณะส่งลูก
- การส่งลูกไม่ถูกต้อง
- ขณะส่งตีไม่ถูกลูก
- คู่ขาเป็นผู้ตีลูกส่งกลับไป หรือตีถูกลูกที่ส่งมา
ขณะการเล่น
- ลูกขนไก่
- ตกบนพื้นนอกเขตสนาม
- ลอดผ่านตาข่าย/ลอดใต้ตาข่าย
- ไม้ข้ามตาข่าย
- ถูกเพดาน/ผนัง
- ถูกตัวหรือเครื่องแต่งกายผู้เล่น
- ถูกวัตถุหรือบุคคลภายนอก
- ติดอยู่ในแร็กเกตและถูกเหวี่ยงออกไป
- ตี 2 ครั้งติดต่อกันโดยผู้เล่นคนเดียว
- ตีโดยผู้เล่นและคู่ขาติดต่อกัน
- ถูกแร็กเกตแล้วลอยไปด้านหลัง
- หลังจากส่งแล้วไปติดบนตาข่าย หรือข้ามแล้วค้างบนตาข่าย
- ผู้เล่น
- ถูกตาข่ายหรืออุปกรณ์
- ล้ำบนตาข่าย
- ล้ำใต้ตาข่าย
- กีดขวางคู่ต่อสู้
- ทำลายสมาธิฝ่ายตรงข้าม
- ทำผิดอย่างโจ่งแจ้ง ซ้ำซาก
ข้อ 14 เอาใหม่
- ผู้รับลูกยังไม่พร้อม
- ผู้รับและผู้ส่งทำผิดพร้อมกัน
- ลูกค้างบนตาข่าย
- ลูกขนไก่แยกเป็นส่วน ๆ
- กรรมการกำกับเส้นไม่เห็น
- เกิดจากความคิดผิดในสนามส่งลูก
- เกิดสิ่งไม่คาดคิด หรือเหตุบังเอิญ
- เกิดสิ่งไม่คาดคิด หรือเหตุบังเอิญ
ข้อ 16 การเล่นต่อเนื่อง การทำผิด การลงโทษ กรรมการจะต้องเป็นผู้ตัดสินแต่เพียงผู้เดียวในกรณี
- การเล่นต่อเนื่อง
- การพักระหว่างเกม
- การพักการเล่น
ผู้เล่นจะต้องไม่
- ถ่วงเวลาหรือพักการเล่น
- ทำลายวิถีของลูก
- กระทำผิดนอกเหนือกติกา
วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
4 ความคิดเห็น:
เนื้อหาเยอะว่างั้น ดี มีครบ
ก้อดี
ก้อดีนะ
ดีนะ
แสดงความคิดเห็น